วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารคดี บึงพลาญชัย



สารคดี บึงพลาญชัย

ร้อยเอ็ดเพชรอีสาน       พลาญชัยบึงงาม 
            เรืองนามพระ              สูงใหญ่ ผ้าไหมชั้นดี 
            สตรีโสภา                     ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่
                เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่มีบึงอยู่กลางเมือง น้ำในบึงใสสะอาดเต็มเปี่ยมตลอดปีประชาชน ในจังหวัดร้อยเอ็ดเคยร่วมแรงร่วมใจกันขุดลอกบึงครั้งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2470โดยใช้กำลังคนนับหมื่นนอกจาก นั้นบนเกาะกลางบึงยังเป็นที่สถิตของเจ้าพ่อมเหศักดิ์หลักเมืองซึ่งประชาชนเคารพนับถือมากเกาะกลาง บึงจึงเป็นสัญญาลักษณ์ของความยึดมั่นและสามัคคีพร้อมเพรียงกันของจังหวัดมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ร้อยเอ็ดเป็นเมืองโบราณสมัยพุทธศักราชล่วงไปได้ประมาณ100 ปีเศษ
บึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 200000 ตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์ มีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนพายเล่นในบึง ค่าเช่าลำละ 50 บาท ต่อ 1 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่างๆ
ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือ และเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข คิดสิ่งใดสมปรารถนาตามที่ต้องการ  จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมืองร้อยเอ็ดจะพากันมากราบนมัสการขอพรเป็นประจำพระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้ ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลอง และรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์ สนามเด็กเล่น และ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
   ก่อนที่จะมาเป็นบึงที่สวยงามแห่งนี้ได้มีการบูรณะขุดลอกหลายครั้ง พอสรุปได้ ดังนี้  พ.ศ.2469 (31 ก.ค. – 2469 – 31 ม.ค. 2417  โดยการนำของอำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขอความร่วมมือจากราษฎรทุกอำเภอ มาช่วยกันขุดลอกและทำถนนรอบบึงให้ชื่อว่า ถนนสุนทรเทพกิจจารักษ์ ในปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ระหว่าง พ.ศ.2479-2499
                พ.ศ.2506 ได้มีการขุดลอกบึงให้ลึกลงโดยจ้างแรงงานคนขุดลอก
                พ.ศ.2509 มีการขุดลอกโดยใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วย ได้นำดินถมพื้นเกาะกลางบึงให้สูงขึ้นและสร้างเกาะเล็ก ๆ ขึ้นทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันตกอีก 2 เกาะ
                พ.ศ.2526 ได้มีการขุดลอกบึงพลาญชัยครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์พร้อมด้วยการขุดลอกคูเมืองทุกด้านโดยการใช้เครื่องจักรกลทั้งภาครัฐบาลและเอกชนช่วยกัน โดยการนำของนายธวัชชัย  สมสมาน  ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์  ส.ส.ร้อยเอ็ด  และคณะเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ชุด นายสุพาสน์  ธนะแพสย์  เป็นนายกเทศมนตรี  นายจรัส  อิฐรัตน์  และนางสมพิศ  ทรัพย์ศิริ  เป็นเทศมนตรี
                พ.ศ.2527 โดยการนำของนายปรีชา  คชพลายุกต์  ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด และคณะเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ชุดของ นายสุพาสน์  ธนะแพสย์  ได้ดำเนินการขุดลอกและปรับปรุงบึงพลาญชัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
                1. ส่วนที่เป็นน้ำ ได้สูบน้ำจากคลองรอบเมืองเข้าบึงจนเต็ม แล้วจัดทำโครงการปล่อยปลาขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากประมงจังหวัดร้อยเอ็ด และข้าราชการทุกสังกัด พ่อค้า ประชาชนช่วยกัน ปัจจุบันมีปลาจำนวนมหาศาล
                2. ส่วนที่เป็นเกาะใหญ่กลางบึง และรอบบึงปรับปรุงเป็นสวนสุขภาพ สำหรับประชาชน ได้ออกกำลังกายและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ประกอบด้วย
                                2.1  จุดฝึกออกกำลังกาย 12 จุด
                                2.2  สวนสัตว์จำลอง
                                2.3  ปรับปรุงถนนภายในเกาะ และจัดหาม้าหินขัดจากการบริจาคของประชาชน หน่วยราชการทั่วไปไว้บริการนั่งพักผ่อน
                                2.4  ปรับปรุงส่วนหย่อมและสนามเด็กเล่น
                                2.5  สร้างประตูเข้าบึงพลาญชัย 3 ด้าน ด้วยการบริจาคของประชาชน
                                2.6  ขอบบึงพลาญชัยปลูกต้นไม้ประดับไม้ยืนต้น และทำแปลงดอกไม้ มีม้านั่งหินอ่อนวางเรียงรายไว้เป็นระยะ โดยรอบบึงให้ความร่มรื่น
  พ.ศ.2538   บึงพลาญชัยได้มีการพัฒนาครั้งใหญ่อีกครั้งโดยการปรับปรุงพนังกั้นดินรอบเกาะและรอบบึงทั้งหมดให้เป็นคอนกรีตเพื่อป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของดิน ในสมัยนายบรรจง  โฆษิตจิรนันท์  เป็นนายกเทศมนตรี เมืองร้อยเอ็ดและภายใต้การสนับสนุนของนายอนุรักษ์  จุรีมาศ  ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงพัฒนาด้านอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน เช่น จนมาเป็นบึงที่สวยงามจนถึงทุกวันนี้อันเป็นที่ภูมิใจของชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมาก
กิจกรรมของผู้คนที่อยู่รวบๆบึงโดยเฉพาะตอนเย็น ในช่วงเวลา 6  ได้มีการออกกำลังกายประกอบดนตรีแอโรบิคด๊านซ์ ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชน ทั้งเยาวชน และ ประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี โดนได้ความรวมมือจาก เทศบาลได้จัดพนักงานครุเทศบาลที่มีความสามารถด้านกีฬา นำกายบริหารและออกกำลังกาย

สารคดี เรื่อง นิสิตไก่ชน



นิสิตไก่ชน

สัตว์อะไรที่คนไทย หรือสังคมไทยมีความคุ้นเคยมากที่สุด บางคนว่าวัว ควาย เพราะเป็นสัตว์ที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน บางคนคิดว่าเป็นสุนัข เพราะมีความใกล้ชิดกับคนมากที่สุด บางคนว่าเป็นช้างเพราะว่าเป็นสัตว์ประจำชาติ แต่สำหรับ นาย สืบสกุล ตะนุมงคล นิสิต มหาลัยมหาสารคาม แล้วนั้นสัตว์ที่คนไทยให้ความคุ้นเคยด้วยมากที่สุดคือ ไก่ โดยเฉพาะไก่ชนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสืบสกุล เค้าได้ใช่เวลาว่างให้กับไก่คู่ใจ
นาย สืบสกุล ตะนุมงคล เป็นนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะ วิลัยการเมืองการปกครอง สืบสกุลเป็นคนที่ชอบไก่ชนตั้งแต่เด็ก แรงบันดาลใจของสืบสกุลในการเลี้ยงไก่ชนได้มาจากพ่อ ซึ่งพ่อของสืบสกุลเป็นคนรักไก่ชนเป็นชิตจิตใจ และได้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของไก่ชนให้กับสืบสกุล ตอนเด็กสืบสกุลได้ติดตามพ่อไปสนามชนไก่ได้ไปเห็นเรื่องต่างๆในสนามไก่ชนและนำประสบการณ์ที่ได้เห็นได้เรียนรู้มานำมาใช้กับตัวเอง
พอสืบสกุลได้เข้ามาศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สืบสกุลได้ก็เจอเพื่อนๆที่ชอบเลี้ยงไก่ชนเหมือนกัน เลยพากันตั้งค่ายไก่ชนของตัวเองรวมกับเพื่อนๆ พากันเลี้ยงไก่ชนตอนนี้สืบสกุลมีไก่ชนอยู่ในค่ายตัวเองมากกว่า 23 ตัว สืบสกุลยังสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้มากพอสมควร โดยการเลี้ยงไก่ชนขายและที่สำคัญได้จากการชนไก่ซึ่งอาจเป็นการทรมานสัตว์ แต่เค้าคิดว่าไก่ชนเกิดมาเพื่อชนเค้าเลยคิดว่าไก่ก็คงจะชอบในสิ่งที่มันทำ  และที่สำคัญสืบสกุลได้ลดภาระค่าใช่จ่ายทางบ้านได้มากเลยที่เดียว
ในการเลี้ยงไก่ชนของสืบสกุลยังทำให้สืบสกุลตื่นแต่ตื่นเช้าเพื่อมาให้อาหารไก่ และพากันไก่ออกกำลัง นั้นเป็นสิ่งดีเพราะสืบสกุลได้ตื่นมาเจอบบรรยากาศสดชื่นไม่เหมือนกับนิสิตคนอื่นๆที่นอนตื่นสายเพราะเท่าที่รู้ชีวิตในการเรียนมหาลัยส่วนมากจะตื่นสาย ใช่เวลาว่างไม้เป็นประโยชน์ ใช่เวลาส่วนมากกับการนอนถึงเวลาเรียนก็ตื่นไปเรียน
                สืบสกุลได้บอกถึง ตำราไก่เก่ง  ไก่ชนลักษณะดี ต้องมี ปากงุ้ม เหมือนเหยี่ยว เป็นร่องหนา แข็งแรง ตารูปตัววี คิ้วหนา หงอนหินบางกลางสูง คอยาวใหญ่ ลำตัวยาว ๒ ท่อน เนื้อเต็มทั้งหน้าอก และบั้นท้าย บั้นขาใหญ่ แข้งอิ่มกลม มีหมอนรองแข้ง มีเสือซ่อนเล็บ มีเหน็บชั้นใน หางพันเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสองซึ่งเป็นไก่ที่หาอยากมีคนอยากได้ไก่ลักษณะแบบนี้มาเลี้ยง
การเลี้ยงไก่สำหรับชนนั้น สืบสกุล ได้มีวิธีดูแลไก่ของตัวเองเป็นอย่างดีก่อนที่จะนำไก่ออกไปชนแข่ง สืบสกุลมีเคล็ดลับในการดูแลไก่ก่อนที่จะนำออกไปชน ระยะการปล้ำและทำตัวไก่หนุ่มไก่หนุ่มที่จะเริ่มเลี้ยงครั้งแรก ต้องลงขมิ้นให้ทั่วทั้งตัวเสียก่อน เพื่อสะดวกในการอาบน้ำ และป้องกันไรได้ดีอีกด้วย  เริ่มอาบน้ำเวลาเช้าทุกวัน ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ ลงกระเบื้อง เนื้อตัวบาง ๆ แล้วลงขมิ้นตามเนื้อบาง ๆ แล้วนำไปผึ่งแดด พอรู้ว่าหอบก็นำไก่เข้าร่ม อย่าให้กินน้ำจนกว่าจะหายหอบ จึงจะให้กินน้ำได้ ไก่ผอมไม่ควรผึ่งแดดให้มาก เพราะจะทำให้ผอมมากไปอีก ถ้าอ้วนเกินไปต้องผึ่งแดดให้มากสักหน่อย เพราะจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ ควรคุมน้ำหนักทุกครั้งที่มีการซ้อม และการเลี้ยงทุกวันตอนเช้า อาบน้ำประมาณ 7 วัน แล้วจึงเริ่มซ้อมครั้งแรก ระยะการปล้ำแต่ละครั้งควรจะมีเวลาห่างกันประมาณ 10-15 วันพอครบกำหนดแล้วต้องถ่ายยาตามไก่ให้แก่มีความแข่งแรก นี้คือเคล็ดลับของสืบสกุลในการเลือกไก่และดูแลไก่
ถ้าหาพูดถึงความเป็นมาของไก่ชนคงเริ่มตั้งแต่ พระมหาอุปราชา กับสมเด็จ พระนเรศวร มหาราช เมื่อครั้งที่ พระองค์ ตกเป็นเชลยของ พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง และผลปรากฏว่า ไก่ชนของไทย ชนะ มักถูกนำมาอ้างถึง อยู่เสมอ เพื่อเป็นการยืนยันว่า การชนไก่ และการเลี้ยงไก่ชนนั้น เป็นกิจกรรม "คู่บ้านคู่เมือง" ของไทย ขั้นตอน เคล็ดลับ การเลี้ยง การดูลักษณะ ไก่ชน และชั้นเชิง การชน ก็เป็นสิ่งที่ บรรพบุรุษ นักเลี้ยงไก่ชน คิดค้น สั่งสม และสืบทอดกันมา ตลอดระยะเวลา หลายร้อยปี