วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554
kitsada: สารคดี เรื่อง นิสิตไก้ชน
kitsada: สารคดี เรื่อง นิสิตไก้ชน: "นิสิตไก่ชน สัตว์อะไรที่คนไทย หรือสังคมไทยมีความคุ้นเคยมากที่สุด บางคนว่าวัว ควาย เพราะเป็นสัตว์ที่ผูกพันอยู่กับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่โบ..."
kitsada: สารคดีเรื่อง น้ำท่วมแม่น้ำตาไหล
kitsada: สารคดีเรื่อง น้ำท่วมแม่น้ำตาไหล: "น้ำท่วมแม่น้ำตาไหล มองดูบ้านหมดหนทางจนปัญญา จะเอาอะไรมาแก่ไข่ให้เกินผลบ้านอยู่ใต้บาดานสุดจะทน  ..."
สารคดีเรื่อง น้ำท่วมแม่น้ำตาไหล
น้ำท่วมแม่น้ำตาไหล
มองดูบ้านหมดหนทางจนปัญญา จะเอาอะไรมาแก่ไข่ให้เกินผล
บ้านอยู่ใต้บาดานสุดจะทน ทั้งไร่นาพืชส่วนก็จมหาย
จะเอาอะไรมาประทังชีวิตได้
ฤดูแห่งการทำนา ผ่านไป กำลังย่างกรายเข้าสู่ ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว ซึ่งปีนี้ ถือเป็นปีที่โหดร้าย สำหรับชาวนา หลายต่อหลายพื้นที่ด้วยกันน้ำท่วมผลผลิตที่เฝ้าดูแลมาตลอดเกือบสามเดือน สุดท้ายไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลลิตได้ ถึงเก็บได้บางรายก็ไม่พอคุ้มกับการลงทุน
หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคามซึ่งเป็นหมู่บ้านของป้าสมที่อาศัยอยู่ติดกับลำน้ำชี เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีผู้คนอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขมีความรักไข่สามัคคีกันของคนในหมู่บ้าน มีพืชพันธ์อาหารข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่น่าอาศัยโดยเฉพาะบ้านของป้าสมบ้านเป็นบ้านที่อยู่ติดกับลำน้ำชี อยู่มาวันหนึ่งเมื่อฟ้าลงโทษ ในความมืดมิดของคืนหนึ่งทุกคนในหมู่บ้านนอนหลับไหล โดยไม่มีใครคิดว่ากำลังจะเกิดเรื่องร้ายเกิดขึ้นในหมู่บ้าน สิ่งที่ชาวบ้านดื่มกินสิ่งที่ชาวบ้านอาบกำลังลงโทษพวกเค้า น้ำได้เริ่มไหลท่วมเข้ามาในหมู่บ้านโดยที่ไม่มีใครรู้ตัว ทำให้คนในหมู่บ้านตั้งตัวไม่ทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกคนพากันเก็บข้าวของเครื่องใช้หนีน้ำขึ้นไปบนที่สูงอย่างทุลักทุเล ส่วนบ้านชั้นเดียวไม่ต้องพูดถึงน้ำได้ไหลเข้าท่วมบ้านอย่างรวดเร็วจนต้องได้หนีขึ้นไปอยู่บนที่สูงโดยไม่สนใจกับสิ่งของที่อยู่ในบ้าน
ปัญหาน้ำท่วมนั้นล้วนส่งผลกระทบหลายด้านต่อป้าสม ไม่ว่าจะเป็นในทางด้านการเกษตรกรรมที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเกษตรกรรม อาทิ นาข้าว พืชสวน พืชไร่ต่างก็เสียหายมากเกินกว่าจะประเมินค่าได้ โดยเฉพาะข้าวที่กำลังจะได้รับการเก็บเกี่ยวกับมาโดนน้ำเข้าท่วม ปกติข้าวนั้นจะทำได้ปีละครั้ง ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบน้ำท่วม นาข้าวหลายไร่จมไปกับน้ำ บางครอบครัวรวมถึงป้าสมถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว ผลผลิตที่เคยได้ต้องจมไปกับกระแสน้ำ พืชที่เคยปลูกไว้ก็ได้รับผลเหล่านี้เช่นกัน ทำให้น้ำท่วมต้นพืชเหล่านี้ตายไปกับน้ำท่วม
อีกด้านหนึ่งที่ประชาชนได้รับจากภัยน้ำท่วมนั้นก็คือ โรคภัยต่างๆที่มากับน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นโรคมือเท้าเปื่อย ทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร เพราะเชื้อโรคนั้นได้มากับกระแสของน้ำ น้ำดังกล่าวมีความผิดปกติ เกิดเชื้อโรคต่างๆตามมาจึงทำให้ประชาชนดังกล่าวได้รับโรคต่างๆที่มากับน้ำท่วมในครั้งนี้
การที่พื้นที่ในจังหวัดมหาสารคามซึ่งมีหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ติดกับลำน้ำชี มีหมู่บ้านเล็กๆหลายๆครอบครัวนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งนี้ จากเดิมทีที่เคยอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขมีความรักไขสามัคคีกันของคนในหมู่บ้าน มีพืชพันธ์อาหารข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่น่าอาศัย อยู่มาวันหนึ่งได้รับกระแสน้ำท่วมจากแม่น้ำชีได้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านดังกล่าวทำให้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในครั้งมูลค่าความเสียหายมีค่ามากมายนับค่าไม่ได้ ประชาชนต้องอพยพหนีน้ำ พืชสวน ไร่นา ต้องมาจมกับกระแสน้ำ กระแสน้ำมาอย่างมิทันตั้งตัว ประชาชนก็ไม่ได้มีวิธีป้องกันกับน้ำท่วมในครั้งนี้ ปัญหาน้ำท่วมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนที่อยู่ติดกับลำน้ำชี ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวบ่อยครั้ง สิ่งที่ต้องช่วยกันก็คือ ต้องมีวิธีและมาตรการที่จะช่วยไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวซ้ำซาก ประชาชนและภาครัฐต้องมีบทบาทเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในสถานการณ์ครั้งนี้
สารคดีเรื่อง เด็กชายแสนดี
สารคดีเรื่อง เด็กชายแสนดี
ชีวิตนี้จะก้าวไป ตราบใดที่มีลมหายใจ ความภาคภูมิใจในชีวิตและแรงผลักดันสู่ความสำเร็จ
คนเราเกิดมาตั้งแต่มองตาดูโลก ต่างคนต่างก็ต้องมีความภาคภูมิใจในชีวิตของตัวเองอยู่แน่นอนไม่มากก็น้อย แต่จะอยู่ที่ว่าเราจะจดจำสิ่งเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วมนุษย์เราจะจำได้ดีระหว่างเรื่องที่ดีที่สุด และเรื่องที่เลวร้ายที่สุด การที่เราจดจำเรื่องดีๆในอดีตบางครั้งก็เป็นแรงพลัดดันให้เรา กล้าที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยความภาคภูมิใจ สำหรับกระผมแล้วก็มีความภาคภูมิใจในชีวิตหลายเรื่องด้วยกัน เช่นภูมิใจที่ได้เกิดมาในครอบครัวแห่งนี้ กับการที่ได้มาเป็นลูกของพ่อและแม่ เพราะทำให้ผมได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับชีวิต ถึงแม้จะเกิดในครอบครัวที่ยากจนก็ตาม แต่ก็สามรถที่จะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ไม่นำความเดือดร้อนให้กับใคร
สำหรับความภาคภูมิใจในชีวิตของตนเอง คือ ด้านการเรียนและประสบการณ์การทำงาน อย่างที่ได้กล่าวมา ข้างต้นว่า สุมิตรเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน และประกอบกับมีพี่น้องหลายคน ทุกคนก็ต้องการเรียนหนังสือ จึงทำให้แต่ละวันต้องมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก ต้องเฉลี่ยกันไป ตอนอยู่ประถมศึกษา จำได้ดีว่าแม่ให้เงินไปเรียนคนละ 6 บาท เหมือนกันทั้ง 5 คน โดยที่ตอนเช้าแม่จะหุงข้าวไว้ก่อนไปเรียน แล้วก็ไปทำงานและตอนเที่ยงเราก็จะเดินกลับมากินข้าวที่บ้าน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร บางวันก็ไม่กลับ เป็นเช่นนี้จนกระผมจบ ป.6
เข้ามาเรียนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านพอสมควรและเมื่อกรเข้าเรียนพี่ชายก็เรียนอยู่ ม.2 ต้องตัดสินใจลาออกเพราะอยากให้ สุมิตรได้เรียนต่อ และเขาออกมาทำงานส่งเสีย สุมิตรเรียนอีกแรงหนึ่ง ขณะที่เรียนมัธยม สุมิตรก็ทำงานไปด้วยโดยเฉพาะในช่วงปิดเทอม โดยจะรับจ้างทุกอย่างเช่น ขุดบ่อน้ำ ไถ่นา และ รับจ้าง ต่างๆเพื่อนำเงินมาเป็นทุนการศึกษาของตนเองและที่สุดๆของชีวิตคือ ช่วง ม.5-6
ได้สมัครทำงานเป็นยามรักษาความปลอดภัยที่ องค์การบริหารส่วนตำบล เดือนละ 4,000 บาท ช่วงนี้เป็นช่วงของสถานการณ์ความไม่สงบ เกิดเหตุร้ายอยู่ทุกๆวันเช่นเฝ้าโรงเรียน อบต. และสถานที่ราชการต่างๆ กลัวอยู่เหมือนกันว่าจะเกิดเหตุร้ายกับตัวเอง เพราะต้องเดินทางมาตอนเย็นหลังจากที่กลับจากโรงเรียนประมาณ 5 โมงเย็นมาเข้าเวร และออกเวรกลับบ้านตอน 5 โมงเช้าเพื่อที่จะได้อาบน้ำแต่งตัวขึ้นรถโรงเรียนตอน 6 โมงเช้า จะเป็นเช่นนี้จนเรียนจบ ม.6
แน่นอนย่อมมีผลกระทบต่อการเรียนเป็นธรรมดา เพราะจะนำการบ้านไปทำที่ทำงานไม่ได้ ต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา และการบ้านทุกอย่างต้องทำให้เสร็จจากโรงเรียน หรือค่อยทำวันศุกร์เพราะเป็นวันหยุดเรียน แต่ผลการเรียนก็ไม่กระทบมากหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และสอบเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ช่วงปิดเทอมก็ได้ทำงานอยู่บริษัท และขณะเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 ใกล้ประสบความสำเร็จแล้ว แรงจูงใจและแรงผลักดันที่ทำให้คงไม่เกินความสามารถเพราะจะจบ ปี 4 แล้ว ถึงแม้ชีวิตจะต้องผ่านอุปสรรค์มามาก กับการเรียนของเด็กจนๆคนหนึ่ง แต่นี่เป็นความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต และประการณ์ชีวิตที่ล้ำค่ายิ่งกว่าสิ่งอื่นใด
ตั้งใจเรียนจนจบ ม.6 และต่อปริญญาตรีได้ มี 3 สาเหตุหลักๆ คือ
1) แรงพลัดดันจากพ่อแม่
2) ความจน
3) การดูถูกจากคนรอบข้าง
คงไม่เกินความสามารถเพราะจะจบ ปี 4 แล้ว ถึงแม้ชีวิตจะต้องผ่านอุปสรรค์มามาก กับการเรียนของเด็กจนๆคนหนึ่ง แต่นี่เป็นความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต และประการณ์ชีวิตที่ล้ำค่ายิ่งกว่าสิ่งอื่นใด
สารคดี เชียงคาน
ครั้งหนึ่งซึ่งได้มาเที่ยวใน เชียงคาน เมืองเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ มีกิจกรรมให้ทำตั้งแต่เช้าไปถึงดึก เหมาะอย่างยิ่งกับวันสบายๆ หนึ่งวันที่เราจะแวะมาเติมพลังพักผ่อนในวันหยุด
มาวันนี้อดีตของเชียงคานใหม่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านความรุ่งเรืองร่วงโรย เดินทางเข้าสู่เมืองท่องเที่ยวเล็กๆอันสงบงามริมฝั่งโขง ซึ่งอาจไม่เป็นที่ถูกใจเท่าใดนัก สำหรับผู้นิยมแสงสี ความเจริญทางวัตถุสิ่งอำนวยความสะดวก แต่เชียงคานกลับมีวิถีจริงแท้ของความเรียบง่ายสงบงาม อันเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มและน้ำมิตร ให้ผู้คนที่ถวิลหาในบรรยากาศแบบนี้เดินทางไปสัมผัส เพราะยิ่งพลวัตแห่งเทคโนโลยีและความเจริญทางด้านวัตถุขับเคลื่อนหมุนเร็วเท่าใด บ้านเรือนเก่าๆอายุร่วมร้อยปีที่นี่ ก็เป็นจุดดึงดูดผู้คนอีกอย่างหนึ่ง บ้านเรือนแต่ละหลังก็มีความแตกต่างกันไป แต่วิถีชีวิตที่นี่ก็ค่อยๆเปลี่ยนไปเพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ก็ยิ่งดูเหมือนว่าจะมีผู้คนเดินหนีจากโลกเทคโนโลยีทีรุมเร้าเข้าสู่ธรรมชาติ และความสงบในจิตใจมากขึ้น
เริ่มต้นเช้าวันใหม่ที่เชียงคานด้วยการ ตักบาตรข้าวเหนียว ท่ามกลางบ้านเก่าริมโขงร่วมกับผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเช้าวันใหม่แบบวิถีพุทธ ที่เชียงคาน การตักบาตรเช้าจะเอาข้าวเหนียวใส่กระติ๊บแล้วหยิบเป็นก้อนใส่บาตร บ้างก็ใส่กับผลไม้ บ้างก็ใส่แต่ข้าวเหนียว โดยตอนที่ตักบาตรนั้น จะนั่งคุกเข่ากับพื้นเพื่อใส่บาตร ซึ่งหากเป็นที่อื่น ส่วนใหญ่จะยืนเสมอพระตอนตักบาตร นี่แหละครับ เป็นอีกหนึ่งเสน่ห์เล็กๆในเมืองเล็กๆที่ชื่อว่า เชียงคาน ผู้คนก็ต่างยิ้มแย้ม อารมณ์ดีกับการทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า แต่ก็ยังมีคนอารมณ์ดียิ่งกว่ากับการมาเก็บถาดจำนวนมาก หลังจากที่ผู้มาเยือนตักบาตรเสร็จ แต่คงไม่มีใครคิดอะไรเพราะมันก็เหมือนกับการซื้อสังฆทาน ที่คุ้นเคยตอนอยู่บ้าน มันก็คงไม่น่าแปลกอะไร แต่ถ้านำมาเปรียบเทียบ กับหลายๆบทความที่เขียนถึงเรื่องราวการตักบาตรข้าวเหนียวของเชียงคาน มันก็ไม่เท่ากับการนำเอาวัฒนธรรม มาทำการตลาดสร้างรายได้หรือ กระโดด แสงแดดเริ่มทอแสงเข้มขึ้น เดินหาที่จิบกาแฟริมโขงดูชาวบ้านหาปลา ในแม่น้ำกับบรรยากาศเบา หลังจากทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และลองท้องด้วยอาหารเบาๆอย่างกาแฟเรียบร้อยแล้วพอสายๆ แดดเริ่มส่อง ท้องก้อเริ่มหิวขึ้นมาเลยแวะไปกิน ข้าวปุ้นน้ำแจ่ว กับ ข้าวปุ้นฮ้อน ก็เดินหาไปเรื่อยๆจนเจอร้านของคุณยายบัวลอย ขายข้าวปุ้นน้ำแจ่วสูตรโบราณ ขายเพียงชามละยี่สิบบาท กลิ่นหอม น่าตาก็น่าทาน รับประทานคู่กับผักสด
ที่หมายต่อมาเดินไปสถานที่ต่อไป คือ วัดศรีคุนเมือง วัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงคาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2199 ภายในพระอุโบสถ องค์พระประธานปางนาคปรกศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเชียงคานมาแต่โบราณ มีศิลาจารึกหินชนวนประดับที่หน้าโบสถ์อีกด้วย จากนั้นมุ่งหน้าเดินทางต่อสู่วัดที่สอง คือ วัดท่าครกก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2395 โดยเจ้าเมืองเชียงคานในสมัยนั้น คือ พระศรีอรรคฮาด (สีทา) ภายในอุโบสถ ประดับด้วยลายปูนปั้นประดับเพดานและลวดลายเขียนสีโบราณ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวัดที่ไม่ไกลจากถนนริมโขง ต่อด้วยวัดที่สาม วัดมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงคาน ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2197 พร้อมเมืองเชียงคาน เจดีย์มหาธาตุเป็นที่สักการะบูชา นับถือ พระอุโบสถเก่าแก่ และศาลาการเปรียญมีภาพเขียนฝาผนังดั้งเดิมมาแต่โบราณ จนภาพค่อนข้างเลือนไปมากแล้ว องค์พระประธานศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเชียงคานอิ่มบุญมาแล้วทั้งหมด สามวัด
แล้วไปดูวิวเมืองเชียงคานในมุมสูงสักหน่อย ด้วยการนั่งรถขึ้นไปบน ภูทอก จุดชมวิวที่สามารถเห็นเมืองเชียงคานได้ทั้งเมือง วิวมุมบนสุดสามารถเห็นเชียงคานคู่ขนานกับแม่น้ำโขงที่ขวางกันแบ่งเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน สัมผัสบรรยากาศยามเย็นของเชียงคาน บรรดาร้านต่างๆเริ่มคึกคักไปด้วยผู้คน ที่ต่างแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชม ถ่ายรูป แวะนั่งเล่นมองผู้คนเดินไปมาที่ ร้าน สำ-ราน-นา เพราะนอกจากจะมีบรรดาเครื่องดื่มแล้ว ยังมีอินเตอร์เน็ตเครื่อง I-Mac ซาลาเปา ให้ได้นั่งเล่น
เมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี ก็จะเป็นเช่นเดิมตลอดไป
ในประเทศไทยของเรา มีบ้านเรือนเก่าแก่มากมาย ที่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และธรรมชาติ เก่าๆไว้ แต่เมืองเก่าๆหลายเมืองในประเทศไทย ได้ถูกปรับเปลี่ยน ปรับปรุงพัฒนา ปลุกชีวิตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เมืองเก่าอายุกว่า 100 ปี ริมโขง ที่เชียงคาน จังหวัดเลย จริงๆ เชียงคานยังมีเรื่องราวให้พูดได้ไม่รู้จบ เวลาเพียงแค่ 2-3 วัน คงไม่สามารถเข้าถึงคำว่า "เสน่ห์" ของเชียงคานกับความรู้สึกนี้ เหมือนกับที่ชาวเชียงคานสะท้อนไว้
หลายคนอาจจะบอกฉันว่า...เชียงคานคือปายแห่งที่สอง สำหรับฉัน สถานที่แต่ละแห่งล้วนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อาจจะมีบางอย่างที่คล้ายแต่คงไม่เหมือนและไม่ใช่ฉันไม่อยากให้เชียงคานเป็นเหมือนปายตอนนี้ ที่ต้องแย่งกันกิน แย่งกันใช้ แย่งกันไป แย่งกันเที่ยว อยากให้เชียงคานเป็นแบบเชียงคานที่มีความเป็นวิถีชีวิต มีความเรียบง่าย มีรอยยิ้ม มีน้ำใจ และมีทะเลหมอกบนภูทอกที่บริสุทธิ์และงดงาม จนไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)